เมนู

ได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว
ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไป ย่อม
ทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้น
ด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้
ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงจำธรรมก็ดี การพิจารณา
เนื้อความก็ดี ธรรมอันได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่-
ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้น ๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้
ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.

บท 4


[239] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว
อันวิญญูบุรุษจะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายก
ขึ้นแสดงแล้วนั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวก
ไหนจะเป็นผู้รู้ทั่งถึงธรรมได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสนาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่
เป็นอามิส ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของ
ตลาดซึ่งมีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึง
ทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่าตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอน

ของพระศาสดาแล้วพระพฤติด้วยจงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดา
เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ เราไม่รู้ คำสอนของพระศาสดา
ย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้ว
พระพฤติ. สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดา
แล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไป. จะ
เหลืออยู่แต่หนังและเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึง
บรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของ
บุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผล
สองอย่างคือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึด
ถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้
มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบกีฏาคิริสูตรที่ 10
จบภิกขุวรรคที่ 2

10. อรรถกถากีฏาคิริสูตร


กีฏาคิริสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสีสุ ในชนบทมีชื่ออย่างนี้. ในบท
ว่า เอวํ ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว นี้ มีความดังต่อไปนี้ แม้พวกเธอเห็นอานิสงส์
5 อย่างเหล่านี้ ก็จงฉันอาหารเว้นการฉันในราตรีเสีย. ด้วยประการฉะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้เว้นการฉัน 2 อย่างเหล่านี้ คือ การฉันในเวลา
วิกาลในกลางคืน 1 การฉันในเวลาวิกาลในกลางวัน 1 ในคราวเดียวกัน. ใน
สมัยหนึ่ง ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางวันเสียเท่านั้น. ครั้นกาลเวลา
ล่วงไปพระองค์ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางคืนเสีย จึงตรัสอย่างนี้.
เพราะเหตุไร. เพราะการฉัน 2 คราวเหล่านี้ เป็นการสะสม หมกมุ่น ในวัฏฏะ
มิได้แล่นออกไปได้ดุจน้ำไหลลงแม่น้ำ กุลบุตรผู้ละเอียดอ่อนเจริญเพราะบริโภค
อาหารดีในเรือนแม้ที่สงบเงียบ เว้นการบริโภค 2 ครั้งในคราวเดียวกันเท่านั้น
ย่อมลำบาก. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมิได้ทรงให้เว้นในคราวเดียว
กัน. ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางวัน ในภัททาลิสูตร ใน
สูตรนี้ ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางคืน. ก็เมื่อให้ละ ทรงคุกคาม
หรือทรงข่ม. พระองค์ทรงแสดงอานิสงส์อย่างนี้ว่า พวกเธอจักรู้คุณคือความ
เป็นผู้มีอาพาธน้อย เพราะการละการบริโภคเหล่านั้นเป็นปัจจัย แล้วจึงทรงให้
เว้นเสีย. บทว่า กีฏาคิรี เป็นชื่อของนิคมนั้น. บทว่า อสฺสชิปุนพฺพสุกา
คือพระอัสสชิ และพระปนัพพสุกะ ในบรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ 6 รูป ท่าน
ทั้งสองเป็นคณาจารย์. ชนทั้ง 6 เหล่านี้ คือ ปัณฑุกะ 1 โลหิตกะ 1